How to คัดหุ้นกู้คุณภาพดี ด้วย 5 อัตราส่วนทางการเงิน
หุ้นกู้ หุ้นประเภทหนึ่งที่เปิดให้นักลงทุน ได้เข้าร่วมซื้อเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลงทุนกับบริษัท บริษัทหนึ่ง แต่ในการลงทุนแต่ละครั้งเราต้องสังเกตตัวบริษัทอย่างไร ?เพื่อที่ลงทุนไปแล้วจะได้ผลตอบแทนกลับมา
หุ้นกู้เป็นตราสารหนี้ประเภทหนึ่ง เมื่อนักลงทุนลงทุนในหุ้นกู้ นักลงทุนจะอยู่ในสถานะของ “เจ้าหนี้” และบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้น จะอยู่ในสถานะ “ลูกหนี้” โดยที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นให้คำสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันตลอดช่วงอายุของหุ้นกู้ และจะชำระเงินต้นคืน ณ วันครบกำหนดอายุของหุ้นกู้
สิ่งที่จะสามารถบ่งชี้ข้อมูลตรงนี้ได้มาจาก “ข้อมูลงบการเงิน” หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า ข้อมูลประเภทพื้นฐาน (Fundamental) ซึ่งมีหลัก ๆ อยู่ 5 อัตราส่วนทางการเงิน ได้แก่
1. ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น (Current ratio)
“สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน”
ความหมาย: บริษัทมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้กี่เท่าของหนี้สินที่ต้องชำระ
- สินทรัพย์หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี เช่น เงินสด, ลูกหนี้การค้า
- หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินที่มีกำหนดชำระภายใน 1 ปี
2. หนี้สินต่อทุน (D/E ratio)
“หนี้สิน / ส่วนของผู้ถือหุ้น”
ความหมาย : บริษัทมีหนี้สินเป็นกี่เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น
3. ความสามารถในการทำกำไร (Net Profit Margin)
รายได้สุทธิ / รายได้ขั้นต้น
ความหมาย: บริษัทสามารถสร้างรายได้สุทธิเป็นอัตราส่วนเท่าไรต่อรายได้ขั้นต้น
- รายได้สุทธิ: รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายของบริษัท
- รายได้ขั้นต้น: รายได้ที่มาจากการดำเนินธุรกิจและรายได้จากดอกเบี้ย
4.ความสมารถในการชำระดอกเบี้ย (interrest coverage ratio / ICR)
“กำไร(ขาดทุน) ก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้(EBIT) / ดอกเบี้ยจ่าย”
ความหมาย: บริษัทมีกำไรก่อนจ่ายดอกเบี้ยและภาษีเงินได้เป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจริง
5. กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (cash flow from operating activities)
ความหมาย: ความสามารถในการดำเนินงานของกิจการในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่เพียงพอสำหรับการดำเนินงานของกิจการ การชำระคืนเงินกู้ยืม การจ่ายเงินปันผล ตลอดจนการลงทุนใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการจัดหาเงินจากแหล่งเงินทุนภายนอก
การลงทุนมีความเสี่ยง และแน่นอนว่าการลงทุนหุ้นกูก็มีความเสี่ยงเช่นกัน
แบ่งออกเป็น 4 ข้อ คือ
1. ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์กับราคาหุ้นกู้ในทางทิศตรงข้ามกัน จึงทำให้เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่ม
2. ความเสี่ยงด้านราคา
ปัจจัยเรื่องอายุคงเหลือของหุ้นกู้มีผลต่อความผันผวนของราคาหุ้นกู้ โดยหุ้นกู้ที่มีอายุคงเหลือยาวจะมีโอกาสเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของราคามากกว่าหุ้นที่มีอายุคงเหลือน้อยกว่า เพราะในระหว่างการถือหุ้นกู้จะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหุ้นกู้ เช่น สภาวะเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อ นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น ทั้งนี้หากถือครบกำหนดอายุของหุ้นกู้ ก็จะได้รับเงินต้นคืนครบตามราคาที่ระบุไว้หน้าตั๋ว จึงไม่ต้องกังวลความเสี่ยงในด้านนี้
3. ความเสี่ยงด้านเครดิต
ปัจจัยเรื่องอายุคงเหลือของหุ้นกู้มีผลต่อความผันผวนของราคาหุ้นกู้ โดยหุ้นกู้ที่มีอายุคงเหลือยาวจะมีโอกาสเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของราคามากกว่าหุ้นกู้ที่มีอายุคงเหลือน้อยกว่า เพราะในระหว่างการถือหุ้นกู้จะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหุ้นกู้ เช่น สภาวะเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อ นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น ทั้งนี้หากถือครบกำหนดอายุของหุ้นกู้ ก็จะได้รับเงินต้นคืนครบตามราคาที่ระบุไว้หน้าตั๋ว จึงไม่ต้องกังวลความเสี่ยงในด้านนี้
4. การลงทุนในหุ้นกู้ก่อนทุกครั้ง โดยพิจารณา
การลงทุนในหุ้นกู้มีความเสี่ยงที่บริษัทที่ซื้อหุ้นกู้จะไม่สามารถชำระหนี้คืนทั้งเงินต้นและ ดอกเบี้ยคืนได้ อาจทำให้ต้องสูญเสียเงินต้นและผลตอบแทนที่ควรได้รับไปทั้งหมด ดังนั้นนักลงทุนควรพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้คืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยของ บริษัทที่จะเข้าไปซื้อหุ้นกู้ก่อนทุกครั้ง โดยพิจารณาได้จากอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ตามที่กล่าวไปข้างต้น
5. ความเสี่ยงด้ายสภาพคล่อง
แม้ว่าตลาดรองจะสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือหุ้นกู้ได้ก่อนครบกำหนดอายุ แต่ในบางครั้งผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่สามารถขายหุ้นกู้ได้ในราคาที่ต้องการ เนื่องจากหุ้นกู้ที่ถืออยู่อาจมีสภาพคล่องไม่มาก
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35