ฟรีแลนซ์ควรรู้ ไม่มีเงินเดือนประจำ ต้องสร้างความมั่นคงให้ชีวิต
เปิดข้อแนะนำฟรีแลนซ์มือใหม่ ทำอย่างไรให้บริหารการเงินอย่างมั่นคงในช่วงที่ไม่มีคนดูแล และไม่ได้ทำงานประจำ
วิทย์ สิทธเวคิน และ โค้ดหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ชวนพูดคุยเรื่องของการไม่อยากเป็นพนักงานบริษัท หลายคนอยากเป็นสิ่งที่เรียกกันว่าฟรีแลนซ์ แต่ฟรีแลนซ์เงินมันไม่แน่นอนที่จะได้รายรับในแต่ละเดือนในขณะเดียวกันรายจ่ายมันเดินหน้าไปเรื่อย ๆ ข้อแนะนำสำหรับคนที่เริ่มก้าวเป็นฟรีแลนซ์ แล้วเจอความท้าท้ายมากมาย จำเป็นต้องมีหลักคิดยังไง
โค้ชหนุ่ม กล่าวว่า อาชีพฟรีแลนซ์นั้นมีรายได้ที่ไม่แน่นอน แต่รายจ่ายนั้นแน่จริง ฟรีแลนซ์ถ้าเป็นเงิน ๆ ทอง ๆ จะมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่
1. ฟรีแลนซ์ที่เวลาทำงานอาจจะไม่ใช้ต้นทุนที่สูง ยกตัวอย่าง รับจ้างแปลภาษา เป็นติวเตอร์ คนกลุ่มนี้บริหารเงินง่าย
2. เป็นประเภทฟรีแลนซ์ ที่ต้องมีผลิตสินค้าตัวอย่างให้ลูกค้า มีการออกเงินไปก่อน อันนี้ก็จะมีความยุ่งยากในการบริหารจัดการเงินอยู่เหมือนกัน
ถ้าอยากเป็นฟรีแลนซ์ แนะนำให้มองการเงินทุก ๆ 3 เดือนอยู่ตลอดเวลา เดือนแรก รู้อยู่แล้วว่าเงินจะต้องเข้า เพราะเงินยังไม่ได้เข้าเดือนที่เราทำงาน ส่วนเดือนถัดไปยังไม่ชัดเพราะยังไม่ได้ทำงาน มันก็อาจจะไม่มีในช่องรายได้ไว้ก่อน แต่ก็ลงรายจ่ายไว้ จะได้รู้สึกขยันขึ้น
โดยเรื่องการเงินของคนที่เป็นฟรีแลนซ์อาจจะไม่เหมือนคนทั่วไปที่ทำงานประจำ พอทำงานประจำก็ลงรายรับ 30,000 ไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าเป็นฟรีแลนซ์ ได้ 70,000 แล้ว แต่เดือนต่อ ๆ มารายได้อาจจะเป็น 0 ได้เหมือนกัน เดือนนี้ได้มา 70,000 ใช้กินไป 30,000 เงินก็จะเหลือ 40,000 ให้เห็นได้เลยว่า รายได้ที่มันยังคงเหลือมีอยู่เท่าไหร่ แล้วดูรายจ่ายอีก 2 เดือนที่รออยู่ จะได้รู้ว่าอยู่ได้หรืออยู่ไม่ได้อย่างไร
โค้ชหนุ่ม เพิ่มเติมในเรื่องกู้เงินไปซื้อบ้านในรูปแบบของการไม่มีสลิปเงินเดือนเอาไว้ว่า หลักการข้อสินเชื่อก็คือ หนึ่งผู้กู้ต้องมีรายได้มั่นคง มีงานการที่สามสารถตรวจสอบได้ เพราะเป็นพื้นฐานเลย ที่จะเอาเงินมาคืนเจ้าหนี้ได้ และเรื่องของประวัติทางการเงิน ถ้าเคยมีการใช้บัตรเครดิต ใช้สินเชื่อ แล้วผ่อนดี ผ่อนตรง แม้ว่าจะผ่อนขั้นต่ำด้วยก็ตาม ก็ถือว่าดีมาก
สิ่งที่ควรจะทำทุกครั้งที่คุณรับรายได้ ถ้ามีรายได้จากบริษัทใหญ่ เขาจะมีการออกหนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่เรียกกันว่า "ห้าสิบทวิ" อันนี้เราต้องเก็บรวบรวมซะหน่อยให้เห็ว่าเรามีรายได้จริง ๆ เก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
ถัดมาเงินที่เข้าบัญชี พยายามเอาเงินเข้าบัญชีใดบัญชีหนึ่ง ให้มันเข้าตลอดเวลา เช่น รับเงินมาเป็นเช็ค ก็เอาเข้าธนาคารนี้ เป็นการโอนเงิน ก็โอนเข้าบัญชีนี้ ทริคของธนาคารที่บอกไว้ คือเหลือติดบัญชีไว้ด้วย ไม่ใช่กดอกมาหมด มันจะกลายเป็นว่า คน ๆ นี้จะมีสภาพที่คืนเงินได้เหรอ เพราะฉะนั้นพยายามให้มีเงินเหลือทิ้งค้างไว้ แล้วเอาเงินก้อนใหม่ยัดเข้าไป จะแสดงให้เห็นว่าคุณบริหารเงินเป็น สุดท้าย พอสิ้นปีก็เอาเอกสารหน้าที่การเงินทั้งหมด หนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย ไปยื่นภาษี
ถ้าเป็นอาชีพอิสระ เราก็ต้องยื่น ภ.ง.ด.90 ตรงนี้ฟรีแลนซ์หลายคนจะกลัว แต่จริง ๆ มีความจำเป็นมาก หลักฐานทางภาษีเหมาะมาก เวลายื่นขอสินเชื่อ จะกู้ซื้อบ้าน ลองเอาหลักฐานทางภาษีแนบกับสเตจเมนต์ให้ดูได้เลย การยื่นภาษีจะมีบอกอยู่แล้วว่า ได้รายได้เท่าไร ซึ่งในวงเล็บคือ เป็นรายได้ที่น้อยที่สุดแล้วที่คนนั้นหาได้ เราต้องไปยื่นทำให้ถูกต้องแล้วมันจะมีประโยนช์ในท้ายที่สุด
โค้ชหนุ่ม แนะนำหลักการในเรื่องของการออมเงินไว้ ให้เก็บปกติ สัก 10% ของรายได้ที่หามาได้ เน้นเรื่องการจัดสรรให้มาก เพราะว่าตอนไม่มีใครดูแลเรา เงินออมควรจะจัดเป็น 3 ส่วน
1. ควรจะเป็นเงินสำรอง เอาสัก 6 เท่าของค่าใช้จ่าย เช่น กิน ใช้ เดือนละหมื่น ควรจะมีเงินสำรองสัก หกหมื่นไว้ตลอดเวลา เพื่อเราจะได้ดูตัวเองได้
2. ควรจะจัดสรรเงินก้อนนึงไว้ดูแลเรื่องเจ็บป่วย สิ่งที่ต้องวางแผนอาจจะต้องมีการจ่ายเบี้ยตรงนี้ด้วย
3. เราไม่ได้อยู่ในระบบ ข้าราชการจะมี กบข. คนทำงานประจำมีเงินสำรองเลี้ยงชีพ จะต้องดูแลตัวเองทั้งหมด เพราะฉะนั้นจะต้องมีเงินก้อนหนึ่งค่อย ๆ สะสมไปทีละน้อยเพื่อเป็นเงินเกษียณ ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ก็จะมีถังเงินอีกก้อนหนึ่ง เมื่อมีปัญหาอะไรต่าง ๆ กิจการมีปัญหา ก็ยังสามารถดูแลตัวเองได้
ดั้งนั้นบริหารเงินให้เงินคล่องนี่คือเรื่องที่สำคัญที่สุด
ติดตาม รายการ “เงินทองของจริง” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35