ข่าวในหมวด ประเด็นร้อนออนไลน์

ได้สูงสุดกี่บาท ผู้ประกันตนเช็ก! เงินเดือนบำนาญเมื่ออายุ 55


ผู้ประกันตนม.33, 39 เช็ก! เงินเดือนบำนาญชราภาพ ถึงวัยเกษียณ 55 ปี ได้รับสูงสุดกี่บาท ประกันสังคมจ่ายตลอดชีวิต

มนุษย์เงินเดือน ผู้ประกันตนม.33, 39 วัยเก๋า เกษียณไปอุ่นใจแน่ มี “เงินชราภาพ” จากสำนักงานประกันสังคมคอยดูแล มาเช็กเงื่อนไขเป็นอย่างไรบ้าง

เงินชราภาพ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. เงินบำเหน็จชราภาพ รับเงินก้อนครั้งเดียว มี 2 เงื่อนไข
-จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน รับจำนวนเงินเท่าที่ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ
-จ่ายเงินสมทบ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน รับจำนวนเงินเท่าที่ผู้ประกันตนจ่าย+เงินสมทบนายจ้าง+
ผลประโยชน์ตอบแทน

2. เงินบำนาญชราภาพ รับเงินรายเดือนตลอดชีวิต มี 2 เงื่อนไข
-จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
-จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน รับเงินเพิ่มอีกปีละ 1.5%

ตัวอย่างวิธีการคำนวณเงินบำนาญชราภาพ

กรณีผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายค่าจ้างอยู่ที่ 10,000 บาท ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 2,000 - 2,750 บาท

กรณีผู้ประกันตนส่งเงินสมทบค่าจ้างเฉลี่ย 12,000 บาท ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 2,400 - 3,300 บาท

กรณีผู้ประกันตนส่งเงินสมทบค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 3,000 - 4,125 บาท

กรณีส่งเงินสมทบ 21-25 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 4,350 - 5,250 บาท

กรณีส่งเงินสมทบ 26-30 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 5,475 - 6,375 บาท

กรณีส่งเงินสมทบ 31-35 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 6,600 - 7,500 บาท

เงื่อนไขในการยื่นรับสิทธิประโยชน์
1.เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39
2.อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
3.เป็นผู้ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต (เฉพาะเงินบำเหน็จชราภาพ)

เอกสารที่ต้องเตรียมยื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
-สำเนาบัตรประชาชน
-แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ สปส.2-01
-สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก ประเภทออมทรัพย์ หรือพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนเลขบัตรประชาชน

ทั้งนี้สำหรับเงินชราภาพประกันสังคม ผู้ประกันตนจะไม่สามารถเลือกเองได้ว่าจะรับเป็นบำเหน็จ หรือ บำนาญ แต่จะขึ้นอยู่ว่าเข้าเงื่อนไขใดของประกันสังคมนั่นเอง

ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบยอดสะสมเงินชราภาพของตัวเองได้ง่ายๆ ดังนี้

1.ตรวจสอบข้อมูลผ่านเว็บไซต์ https://www.sso.go.th/
2.กรอกเลขบัตรประชาชน / รหัสผ่าน
3.เลือกเมนู "ข้อมูลการส่งเงินสมทบ"
4.กดเลือก ปี พ.ศ. ตรวจสอบได้ทันที

นอกจากนี้สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน "SSO Connect" ใช้ได้ทั้งระบบ ios และ android ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบสิทธิประโยชน์ผ่านทางสมาร์ตโฟนได้ทันที วิธีใช้งานดังนี้

-ลงทะเบียนยืนยันตัวตนด้วย เลขบัตรประจำตัวประชาชน และ เบอร์โทรศัพท์

หรือ หากผู้ประกันตนได้สมัครตรวจสอบข้อมูลทางเว็บไซต์ https://www.sso.go.th/ แล้ว สามารถใช้รหัสผ่านเดียวกันได้เลย

ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

6704f15783ccb1.14851850.jpg

6704f156eb28f5.57911656.jpg
 

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark