เช็กอาการ! ติดเชื้อปรสิตคอนโด สาเหตุจากน้ำไม่สะอาด
เช็กอาการ ติดเชื้อปรสิตคอนโด จากกรณีลูกบ้านคอนโดมิเนียมหรูแห่งหนึ่งป่วยโรคเยื่อบุตาอักเสบจำนวนเกือบร้อยราย สาเหตุจากน้ำไม่สะอาดมีเชื้อปรสิตปนเปื้อนในน้ำประปา ทำความรู้จักเชื้อปรสิตคืออะไร วิธีป้องกันภัยใกล้ตัวติดต่อผ่านทางน้ำ
อาการติดเชื้อปรสิตในน้ำเป็นอย่างไร
การติดเชื้อปรสิตที่มีการปนเปื้อนในน้ำอาจมีอาการหลายแบบได้ อาการที่พบบ่อยสำหรับการติดเชื้อปรสิตได้แก่
- อาการปวดแสบที่ช่องคลอด อาจมีความเจ็บปวดหรือรู้สึกแสบโดยเฉพาะในช่วงที่ปัสสาวะหรือหลังจากการถ่ายอุจจาระ
- คันระคาย การระคายน้ำคลอดที่มีอาการคันหรือรู้สึกบริเวณช่องคลอดมีการหล่นเลือด
- อาการที่ปัสสาวะ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น และอาจมีสีเข้มขึ้น หรือมีการตกปลายที่คล้ายเส้นใย
- อาการไข้ อาจมีไข้ที่รุนแรงจนทำให้ปวดข้อ
- อาการคลื่นไส้ มีอาการปวดท้อง และอาเจียน
เชื้อปรสิตในน้ำมีอะไรบ้าง
รศ.พญ.ดาราวรรณ วนะชิวนาวิน ภาควิชาปรสิตวิทยา Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เผยข้อมูลว่าโรคที่ติดต่อผ่านทางน้ำดื่มน้ำ เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อปรสิต โดยเฉพาะโปรโตซัวซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียว โปรโตซัวหลายชนิดสามารถติดต่อผ่านทางน้ำได้
ทั้งนี้ปรสิตระยะติดต่อจะมีความทนทานได้ดีต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม กระบวนการทําน้ำประปานั้นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสด้วยคลอรีน สําหรับเชื้อปรสิต ต้องใช้คลอรีนที่มีความเข้มข้นสูงกว่ามาก เชื้อปรสิตเหล่านี้ตายได้ง่ายที่อุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส ดังนั้นวิธีการต้มน้ำให้เดือดสําหรับดื่มภายในบ้าน จึงเป็นวิธีที่ง่ายและราคาถูก
ปรสิตที่พบในแหล่งน้ำ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ โปรโตซัวที่ก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร และโปรโตซัวที่อาศัยเป็นอิสระในธรรมชาติแต่สามารถก่อโรคในคนได้ ปรสิตติดต่อผ่านทางน้ำที่พบบ่อย ได้แก่
1. Entamoeba histolytica หรือเชื้อบิดชนิดมีตัว
เชื้อบิดชนิดมีตัวนี้อาศัยในลำไส้ใหญ่ (เชื้อบิดชนิดไม่มีตัวเป็นเชื้อแบคทีเรีย) ทำให้เกิด “โรคบิดอะมีบาในลำไส้” หรือ “โรคบิดมีตัว” ในระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง ปวดเบ่ง ถ่ายอุจจาระเหลวมีมูกปนเลือดและกลิ่นเหม็นเน่า บางครั้งเชื้อบิดอาจทำให้เกิดโรคบิดอะมีบานอกลำไส้ที่อวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ ปอด สมอง เป็นต้น เชื้อบิดอาจทำลายผนังลำไส้ทำให้เกิดการอักเสบในช่องท้องได้ด้วย
การติดต่อ โดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีซีสต์ระยะติดต่อปนเปื้อน ซึ่งเชื้อระยะซีสต์ นี้ไม่ถูกทำลายด้วยกระบวนการทำน้ำประปา
การป้องกัน การรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด ดื่มน้ำที่กรองแล้วหรือต้มให้เดือดจะช่วย ป้องกันการติดเชื้อได ถ่ายอุจจาระให้ถูกสุขลักษณะ กําจัดอุจจาระตามหลักสุขาภิบาล และการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี
2. Giardia lamblia
ปรสิตชนิดนี้อาศัยที่ลําไส้เล็ก ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และในระยะเรื้อรังผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ มีไขมันปนมูก
การติดต่อ โดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีซีสต์ระยะติดต่อปนเปื้อน เชื้อระยะซีสต์ไม่ถูกทำลายด้วยกระบวนการการทำน้ำประปา
การป้องกัน การรับประทาน อาหารที่ปรุงสุกและสะอาด ดื่มน้ำที่กรองแล้วหรือต้มให้เดือดจะช่วยป้องกันการติดเชื้อไดรวมทั้งถ่ายอุจจาระให้ถูกสุขลักษณะ กําจัดอุจจาระตามหลักสุขาภิบาล
3. Cryptosporidium parvum
ปรสิตชนิดนี้เป็นโปรโตซัวอาศัยที่ลำไส้ เชื้อระยะ oocyst มีรูปร่างกลม ผนังหนา ภายในประกอบด้วยเซลล์รูปร่างคล้ายพระจันทร์เสี้ยว จำนวน 4 เซลล์
การติดต่อ เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่มีเชื้อระยะ oocyst ปนเปื้อน ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ถ่ายเป็นน้ำ การติดเชื้อในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติอาการท้องเสียอาจหายได้เอง ส่วนการติดเชื้อในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงเรื้อรังร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดอย่างมาก
การป้องกัน ควรดื่มน้ำที่ต้มเดือดหรือผ่านการกรองแล้ว และรับประทานอาหารที่สุกและสะอาด
4. Naegleria fowleri
ปรสิตชนิดนี้เป็นโปรโตซัวที่ดำรงชีวิตเป็นอิสระอาศัยตามดิน โคลนเลน และแหล่งน้ำ ยกเว้นน้ำกร่อยและน้ำทะเล ปรสิตเข้าสู่ร่างกายโดยการสำลักน้ำเข้าทางจมูก ก่อให้เกิดโรคสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีสุขภาพแข็งแรง และมักมีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น การว่ายน้ำ เล่นกีฬาทางน้ำ เป็นต้น ผู้ป่วยมีประวัติการสำลักน้ำทางจมูกก่อนเกิดอาการ 3-7 วัน คัดจมูก เจ็บคอ การได้กลิ่นเสียไป ปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง หลังแข็ง สับสน ชัก ไม่รู้สึกตัว และมักเสียชีวิตภายใน 1 สัปดาห์
การติดต่อ ปรสิตเข้าสู่ร่างกายโดยการสำลักน้ำทางจมูก
การป้องกัน โดยหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำหรือเล่นน้ำในแหล่งน้ำขัง หรือน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมและระวังการสำลักน้ำ
5. Acanthamoeba spp
ปรสิตชนิดนี้เป็นโปรโตซัวที่ดำรงชีวิตเป็นอิสระในธรรมชาติตามแหล่งน้ำ ดิน โคลนเลน เชื้อเคลื่อนที่ช้าๆ ด้วยเท้าเทียมที่มีลักษณะคล้ายหนาม ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมจะเปลี่ยนรูปร่างเป็นระยะซีสต์ที่มีรูปร่างค่อนข้างกลมและผนังหนา การติดเชื้อที่ตามักจะพบในผู้ที่ใช้คอนแทกเลนส์ทําให้เกิดแผลที่กระจกตา ตาแดง เคืองตา ตามัว กลัวแสง และปวดตาอย่างมาก การติดเชื้อที่สมอง ทําให้เกิดโรคสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายอาการของโรคฝหรือเนื้องอกในสมอง เช่น อาการแขนหรือขาอ่อนแรง เป็นต้น
การติดต่อ ปรสิตเข้าสู่ร่างกายทางแผลที่กระจกตาหรือที่ผิวหนัง และการหายใจ เชื้อที่เข้าสู่กระแสเลือดจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะอื่นๆ เช่น สมอง กระดูก เป็นต้น
การป้องกัน ผู้ใช้คอนแทกเลนส์ควรทำความสะอาดเลนส์ด้วยน้ำยาที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้ว และไม่ควรใส่คอนแทกเลนส์ในขณะว่ายน้ำหรือใส่ขณะนอนหลับ
BUGABOONEWS
ขอบคุณข้อมูลจาก Phyathai Nawamin Hospital,ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล