ผุดแฮชแท็ก #Saveทับลาน ค้านเฉือนพื้นที่ป่ากว่า 2 เเสนไร่

คลิปที่เกี่ยวข้อง

ผุดแฮชแท็ก #Saveทับลาน ค้านเฉือนพื้นที่ป่ากว่า 2 เเสนไร่

#Saveทับลาน

โซเชียลผุดแฮชแท็ก #Saveทับลาน คัดค้านเฉือนพื้นที่ป่า อุทยานแห่งชาติทับลานกว่า 2 เเสนไร่ หวั่นเอื้อนายทุน - กระทบสัตว์ป่า ธรรมชาติ

#Saveทับลาน กรณี อุทยานแห่งชาติทับลาน เปิดรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน เกี่ยวกับการเพิกถอนพื้นที่ อช.ทับลาน จำนวน 265,286.58 ไร่ ออกจาการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์

ในการกำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสระแก้ว ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 โดยการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน (จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี) แจ้งมติคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ภายใต้คณะอนุกรรมการการปรับปรุงแผนที่ แนวเขตที่ดินของรัฐ (One Map) ครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 เห็นชอบผลดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน เพื่อให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมายกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำเรื่องเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ พิจารณาดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 โดยให้ส่วนราชการดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบต่อไป สำหรับพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ที่จะผนวกเพิ่มประมาณ 110,000 ไร่ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป

ประเด็นดังกล่าว ทำให้เกิดกระแสในโลกออนไลน์ ชาวเน็ตพากันติดแฮชแท็ก #Saveทับลาน โดยส่วนใหญ่แสดงความประสงค์คัดค้าน เพราะกังวลว่า หากมตินี้ผ่าน อุทยานแห่งชาติทับลาน จะต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไม้มากกว่า 2.6 เเสนไร่

ทางด้าน มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เปิด 6 ผลกระทบ หากมีการเพิกถอนพื้นที่ อช.ทับลาน กว่า 265,000 ไร่ ดังนี้
1. หากใช้เส้นแนวเขตสำรวจอุทยานแห่งชาติทับลาน ปี 2543 ตามมติ ครม. เป็นแนวเขตทับลาน อช.ทับลาน จะเป็นการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติกว่า 164,960 ไร่ ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ
2. กระทบต่อรูปคดีที่กล่าวโทษดำเนินคดีไว้แล้วตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2504 และอยู่ระหว่างดำเนินการ เป็นนายทุน/ผู้ครอบครองรายใหม่ 470 ราย และเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้ประโยชน์ 23 ราย เนื้อที่กว่า 11,083-3-20 ไร่
3. เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนให้มีการเข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนมือเพื่อสร้างโรงแรม รีสอร์ท และบ้านพักตากอากาศเพิ่มมากขึ้น
4. ลดคุณค่าความเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ: ผืนป่าแห่งนี้เป็นต้นน้ำลำธารที่ไหลหล่อเลี้ยงชุมชนโดยรอบ และเป็นพื้นที่ความหวังในการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง
5. เปิดโอกาสให้การใช้ประโยชน์ที่ดิน ขุด ถม อัด ตัดไม้ ทำลายสภาพพืชพรรณบริเวณนั้น ผิวดินขาดสิ่งปกคลุมในการรักษาความชุ่มชื้น และช่วยดูดซึมน้ำ จนส่งผลต่อการระบายน้ำตามธรรมชาติและอาจเกิดปัญหาน้ำท่วมอย่างฉับพลันในบริเวณพื้นที่ราบทางตอนล่างตอนช่วงฤดูฝน
6. แหล่งที่อยู่อาศัย หากิน หรือเส้นทางอพยพเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่า เนื่องจากกิจกรรมมนุษย์เข้าไปรบกวนสัตว์ป่าตามแนวเขตเกินความสามารถในการควบคุมในพื้นที่

BUGABOONEWS
ขอบคุณข้อมูลจาก FB : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร / กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark