ข่าวในหมวด ประเด็นร้อนออนไลน์

Easy E-Receipt เงื่อนไขอย่างไร ลดหย่อนภาษีสูงสุด 5 หมื่นบาท


Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษี 2567 เงื่อนไขอย่างไร ซื้อสินค้า-บริการ ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท

มาตรการ "Easy E-Receipt" โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศในช่วงต้นปี 2567 โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บุคคลธรรมดา กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการตามที่กฎหมายกำหนด สูงสุดถึง 50,000 บาท ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 391 (พ.ศ. 2566) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 443) สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1. สิทธิประโยชน์ Easy E-Receipt

1.1 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล) สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท

1.2 ผู้ใช้สิทธิจะต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

1.3 ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่สามารถนำมาหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ ได้แก่

-สินค้าหรือบริการที่ถูกซื้อหรือใช้บริการในราชอาณาจักรไทยเท่านั้น
-สินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และสามารถออกใบกำกับภาษี
-อิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ผ่านระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt ของกรมสรรพากรให้กับผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการได้
-หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารทั้งในรูปแบบปกติและในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-book)
-สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว

ยกเว้น สินค้า หรือบริการ ดังต่อไปนี้

1. ค่าซื้อสุรา เบียร์ ไวน์
2. ค่าซื้อยาสูบ
3. ค่าน้ำมัน และก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
4. ค่าซื้อรถยนต์ จักรยานยนต์ และเรือ
5. ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำปปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
6. ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการ และผู้รับบริการสามารถใช้บริกาดังกล่าว นอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กำหนด (วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567) เช่น ค่าสมาชิกต่างๆ
7. ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไข Easy E-Receipt

2.1 การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ใช้สิทธิสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการที่สามารถออก e-Tax Invoice & e-Receipt ได้ตามลิงค์นี้

– e-Tax Invoice & e-Receipt ลิงก์ https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/#/index/registered#top

– e-Tax Invoice by Time Stamp ลิงก์ https://interapp3.rd.go.th/signed_inter/publish/register.php

2.2 การใช้สิทธิคำนวณภาษีจากเงินได้ของสามีภริยา

2.2.1 กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท

2.2.2 กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้

(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ หรือแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท

(ข) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท และให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท

2.2 กรณีที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไปหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินำค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรการนี้ได้

การลดหย่อนภาษี ขึ้นอยู่กับบุคคลนั่นจ่ายภาษีอัตราใด

65a4bc50e996e3.13185790.png

65a4c0d8f10b41.09653849.jpg

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร, กรมประชาสัมพันธ์

ดูเพิ่มเติมแสดงน้อยลง Bookmark